1. กล่องของเล่นขนาดใหญ่และลึกมักจะไม่เหมาะค่ะ เพราะของเล่นจะไปปนกันในยุ่งเหยิงในกองใหญ่ ของชิ้นเล็กๆก็จะหายไปในความกองที่รกนั้นและเด็กก็ทำได้เพียงเทของทุกอย่างในกล่องออกมาบนพื้นเพื่อหาของเล่นชิ้นที่ต้องการ ดังนั้นจึงควรหากล่องที่มีขนาดเล็ก จัดวางและถือได้ง่ายรวมทั้งไม่ต้องมีฝาปิดมาไว้หลายๆกล่อง เพื่อที่เด็กๆจะสามารถแยกของเล่นใส่กล่องเป็นประเภทๆได้ โดยตัวต่อทั้งหมดอยู่ในกล่องหนึ่ง รถของเล่นอยู่อีกกล่องหนึ่ง เป็นต้น

2. หาตะขอตัวใหญ่ที่มีป้ายระบุประเภทสิ่งของมาไว้เพื่อแขวนเสื้อโค้ต หมวก กระเป๋า เชือกกระโดดและของแต่งตัวต่างๆ มันอาจจะดูไม่ค่อยสวยนัก แต่คุณและลูกก็จะสามารถหาของที่ต้องการได้ง่าย

3. ใช้สัญลักษณ์หรือสี โดยจัดสี 1 สีให้ลูกแต่ละคน เช่น น้องเบนใช้สีแดง ฉะนั้นเสื้อโค้ตของเบนต้องแขวนที่ตะขอสีแดง ผ้าเช็ดตัวและแปรงสีฟันต้องเป็นสีแดง และของเล่นส่วนตัวก็เก็บในกล่องสีแดง

4. จัดการทุกอย่างให้อยู่ในพื้นที่กิจกรรม เช่นเล่นเกมปริศนา อ่านหนังสือและงานศิลปะ โดยเมื่อจะทำกิจกรรมดังกล่าวจะต้องทำที่พื้นที่กิจกรรมเท่านั้น เช่น เก็บสีเทียน พู่กัน กระดาษ ผ้ากันเปื้อน ผ้าเช็ดแบบเปียก และหมุดสำหรับแขวนไว้ในถังๆหนึ่ง ดังนั้นเวลาจะหยิบใช้และเวลาเก็บจะทำได้ง่ายขึ้น ในระหว่างวันก็ปรับพื้นที่นั้นไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้ โดยนำกล่องอุปกรณ์ศิลปะต่างๆออกไป แล้วนำกล่องเกมปริศนาออกมาเล่นแทน

5. พยายามทำให้การหาของและเก็บของเป็นเรื่องที่สนุกและน่าสนใจเพื่อสร้างนิสัยที่ดีให้กับลูกไปตลอด ครูโรงเรียนอนุบาลก็ทำกล่องและลังที่มีลวดลายต่างๆและมีป้ายชื่อไว้ใช้เช่นกันค่ะ

6. ปฏิบัติตามรูปแบบการหยิบใช้และการเก็บตามแบบของโรงเรียนอนุบาล ก่อนจะเริ่มเล่นของเล่นใหม่ คุณควรช่วยลูกเก็บของเล่นชิ้นเดิมก่อน ดังนั้นเมื่อหมดวัน คุณทั้งสองก็จะได้ไม่ต้องมาแยกของเล่นจากกองใหญ่ที่ยุ่งเหยิงปนกันไปหมด

7. เก็บของเล่นที่ลูกไม่เล่นทุกๆ 3-6 เดือนออก โดยคุณต้องสังเกตดูว่าของเล่นชิ้นไหนที่ลูกไม่เล่น เพราะห้องของลูกนั้นมักจะเต็มไปด้วยของระเกะระกะต่างๆที่ลูกไม่เคยแตะ

8. รกไม่เป็นไร แต่คุณคงไม่อยากให้ลูกต้องสำลักเพราะอมลูกแก้วหรือตัวต่อเลโก้ชิ้นเล็กๆหรอกค่ะ ดังนั้นคุณควรของความช่วยเหลือจากลูกคนโตให้เก็บของเล่นชิ้นเล็กๆ ของมีค่าและของที่อันตรายไว้ในที่ที่สูงขึ้น และวางของเล่นและหนังสือที่เด็กๆสามารถเอาเข้าปากได้ไว้บริเวณที่เด็กเอื้อมถึง